ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Science Program in Community Development
ภาษาไทย : หลักสูตรพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Science Program in Community Development
ภาษาไทย พัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิต
ชื่อย่อ พช.ด.
ภาษาอังกฤษ Doctor of Science (Community Development)
ชื่อย่อ D.Sc. (Community Development)
หลักสูตรระดับปริญญาเอก 2 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
แผน 1 ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว (แผน 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท)
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ (แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และ แผน 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี)
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 194,420 บาท
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 281,130 บาท
1) ผู้เข้าศึกษาแผน 1.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่ง สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่สมัคร และมีผลงานวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาของตนเอง ไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น
2) ผู้เข้าศึกษาแผน 2.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่ง สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
3) ผู้เข้าศึกษาแผน 2.2 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกำหนด หรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก (3.25) จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
1) รับผู้เข้าศึกษาทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยในระดับดี
2) ผู้เข้าศึกษาในแผน 1.1 คัดเลือกจากการสัมภาษณ์ และพิจารณาจากใบสมัคร ประสบการณ์ในการทำงาน ผลงานวิจัย และการเสนอเค้าโครงข้อเสนอการวิจัย (research proposal)
3) ผู้เข้าศึกษาในแผน 2.1 และแผน 2.2 ต้องผ่านการสอบคัดเลือกประกอบด้วย (1) การทดสอบความรู้ด้านสังคมศาสตร์ และความรู้เฉพาะสาขาวิชา และ (2) การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งหลักสูตรฯ ดำเนินการจัดสอบ
4) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
หลักสูตรพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิต มุ่งผลิตนักบริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยขั้นสูง และนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลก เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่มหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อประชาชน และบรรลุพันธกิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในด้านการจัดการศึกษา เผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพขั้นสูง การสร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ แก่สังคม และการทำบุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ศาสนา ศีลธรรม ภูมิปัญญา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ระบบการจัดการศึกษาและระยะเวลาการศึกษา
ระบบการศึกษาโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา และ 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ มีระยะเวลาการศึกษาสูงสุด ไม่เกิน 12 ภาคการศึกษา
การดำเนินการหลักสูตร
การเรียนการสอนนอกวัน–เวลาราชการ (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.)
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม
การเทียบโอนหน่วยกิตและรายวิชา
การเทียบโอนรายวิชาในหลักสูตรการฝึกอบรม จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้
1) หลักสูตรนักบริหารมหานคร กรุงเทพมหานคร สามารถเทียบโอนรายวิชาเรียนได้ 1 วิชา ดังนี้ พช.822 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านการพัฒนาชุมชน
2) หลักสูตรพัฒนากรก่อนประจำการ กรมการพัฒนาชุมชน สามารถเทียบโอนรายวิชาเรียนได้ 1 วิชา ดังนี้ พช.724 การพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชน
3) หลักสูตรการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน สถาบันพระปกเกล้า สามารถเทียบโอนรายวิชาเรียนได้ 2 วิชา ดังนี้ 1) พช.612 ดุลยภาพการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 2) พช.722 การพัฒนาเชิงพื้นที่
4) หลักสูตรการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ สถาบันพระปกเกล้า สามารถเทียบโอนรายวิชาเรียนได้ 1 วิชา ดังนี้ พช.822 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านการพัฒนาชุมชน
4.4 โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา และหน่วยกิต
แผน 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แผน 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
แผน 2.2 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 1 ทำวิทยานิพนธ์
แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องทำ
วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 12
หน่วยกิต ดังนี้
หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน 2.2 ผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ดังนี้
หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
วิชาบังคับ
แผน 2.1
พช. 811 สัมมนาการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนา
เพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคม
พช. 812 สัมมนาประเด็นด้านการพัฒนาชุมชนร่วมสมัยในบริบท
สังคมไทยและสังคมโลก
พช. 813 สัมมนาการวิจัยขั้นสูงเพื่อออกแบบนโยบายและบริหารงาน
พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
แผน 2.2
พช. 611 ปรัชญาและกระบวนทัศน์การพัฒนาชุมชน
พช. 612 ดุลยภาพการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
พช. 615 วิธีวิทยาการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน
พช. 811 สัมมนาการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนาเพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคม
พช. 812 สัมมนาประเด็นด้านการพัฒนาชุมชนร่วมสมัยในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก
พช. 813 สัมมนาการวิจัยขั้นสูงเพื่อออกแบบนโยบายและบริหารงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
วิชาเลือก
แผน 2.1 เลือกศึกษา 1 วิชา
แผน 2.2 เลือกศึกษา 2 วิชา
พช. 721 การสร้างความยั่งยืนในภาวะโลกเปลี่ยนผัน
พช. 722 การพัฒนาเชิงพื้นที่
พช. 723 การสื่อสารในงานพัฒนาชุมชน
พช. 724 การพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชน
พช. 725 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน
พช. 726 การพัฒนาและการจัดการโครงการด้านการพัฒนาชุมชน
พช. 821 การประเมินความคุ้มค่าเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
พช 822 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านการพัฒนาชุมชน
วิทยานิพนธ์
พช. 900 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
พช. 901 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แผน 1 ทำวิทยานิพนธ์
แผน 1.1 ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 901 วิทยานิพนธ์ | ภาคเรียนที่ 2 พช. 901 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 2 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 901 วิทยานิพนธ์ | ภาคเรียนที่ 2 พช. 901 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.1 ทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 12 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 811 สัมมนาการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนาเพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคม พช. 813 สัมมนาการวิจัยขั้นสูงเพื่อออกแบบนโยบายและบริหารงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน วิชาเลือกที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 พช. 900 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 2 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 900 วิทยานิพนธ์ | ภาคเรียนที่ 2 พช. 900 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
แผน 2.2 ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 1 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 611 ปรัชญาและกระบวนทัศน์การพัฒนาชุมชน พช. 612 ดุลยภาพการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน พช. 615 วิธีวิทยาการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน วิชาเลือกที่ 1 | ภาคเรียนที่ 2 พช. 811 สัมมนาการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนาเพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคม พช. 812 สัมมนาประเด็นด้านการพัฒนาชุมชนร่วมสมัยในบริบทสังคมไทยและ สังคมโลก พช. 813 สัมมนาการวิจัยขั้นสูงเพื่อออกแบบนโยบายและบริหารงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน วิชาเลือกที่ 2 |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 2 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 901 วิทยานิพนธ์ | ภาคเรียนที่ 2 พช. 901 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
ปีการศึกษาที่ 3 | |
ภาคเรียนที่ 1 พช. 901 วิทยานิพนธ์ | ภาคเรียนที่ 2 พช. 901 วิทยานิพนธ์ |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต |
พช.611 ปรัชญาและกระบวนทัศน์การพัฒนาชุมชน
ปรัชญา หลักการ กระบวนการ วิธีการ เครื่องมือ และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม บทบาทภาคประชาสังคมและหุ้นส่วนการพัฒนาด้านการพัฒนาชุมชนภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม
พช.612 ดุลยภาพการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิเคราะห์และวิพากษ์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการกำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ พื้นที่และชุมชน การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ การสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนเกี่ยวกับดุลยภาพการพัฒนา การพัฒนากลยุทธ์ และการรักษาดุลยภาพระบบนิเวศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พช.615 วิธีวิทยาการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน
ปรัชญาและกระบวนทัศน์การวิจัย การออกแบบการวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน การวิจัยเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง การนำเสนอผลงานวิจัยด้านการพัฒนาชุมชนทั้งการพูดและการเขียน การอ้างอิงงานวิจัยตามหลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์ จริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณของนักวิจัย
พช.721 การสร้างความยั่งยืนในภาวะโลกเปลี่ยนผัน
การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของโลก มนุษยสมัย โลกาภิวัตน์ ภูมิรัฐศาสตร์ ข้อท้าทายและภัยคุกคามใหม่ของงานพัฒนาชุมชน ผลกระทบของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน แนวคิดและแนวทางการรับมือการเปลี่ยนผัน กรณีศึกษารูปแบบการรับมือของชุมชนภายใต้ภาวะวิกฤติทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่งแวดล้อม
พช.722 การพัฒนาเชิงพื้นที่
กระบวนทัศน์และทำความเข้าใจความหลากหลายชุมชน การพัฒนาชุมชนในมิติที่หลากหลาย การพัฒนาบนฐานชุมชน ภูมิสังคม พหุวัฒนธรรม การจัดการชุมชน การพัฒนาข้ามพรมแดน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อแก้ปัญหาองค์กร ชุมชน และสังคม (ปฏิบัติการ)
พช.723 การสื่อสารในงานพัฒนาชุมชน
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน วิถีชีวิตชุมชนกับการใช้สื่อ การสื่อสารเพื่อเสริมพลังอำนาจชุมชน การพัฒนานวัตกรรมชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างการเปลี่ยนแปลง บทบาทของนักสื่อสารชุมชน สื่อพื้นบ้าน เครือข่ายสังคม ศูนย์เรียนรู้ชุมชน และการประยุกต์สื่อเพื่อการพัฒนาชุมชนในเชิงมิติสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
พช.724 การพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชน
แนวคิดหลักการและวิธีการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การจัดการธุรกิจชุมชน ผู้ประกอบการทางสังคม การเป็นภาคีเครือข่ายองค์กรทางธุรกิจ การลดความเหลื่อมล้ำ รูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและการพึ่งตนเอง บทบาทของธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หน้าที่ทางธุรกิจด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบัญชี การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
พช.725 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน
การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน โดยมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและวางแผนพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์แนวโน้ม การนำเสนอข้อมูล การสร้างแบบแผนข้อมูล การตัดสินใจด้วยข้อมูล การตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลอย่างแม่นยำและทันสมัยรวมถึงการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อตอบสนองความต้องการและปัญหาของชุมชน และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์
พช.726 การพัฒนาและการจัดการโครงการด้านการพัฒนาชุมชน
การศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน เพื่อการเข้าใจชุมชนอย่างลึกซึ้ง การออกแบบเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม การบริหารและระดมทรัพยากร การบริหารความเสี่ยง การประเมินโครงการ แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมและการสานพลัง การประสานประโยชน์เพื่อความยั่งยืนของชุมชน (ปฏิบัติการ)
พช.811 สัมมนาการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนาเพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคม
การนำเสนอประเด็นแนวทางและกลยุทธ์ในการวางแผนนโยบายและการบริหารงานพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตอบสนองต่อความหลากหลายทางสังคม เช่น วัฒนธรรม เชื้อชาติ เพศ และอายุ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม รวมทั้งออกแบบแนวทางในการจัดการและบริหารงานพัฒนาให้สามารถรองรับและส่งเสริมความหลากหลายทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
พช.812 สัมมนาประเด็นด้านการพัฒนาชุมชนร่วมสมัยในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก
การนำเสนอเชิงประเด็นด้านการพัฒนาและการบริหารงานพัฒนาชุมชนร่วมสมัย ในบริบสังคมไทยและโลก ทั้งโลกาภิวัตน์ ภูมิภาคนิยม ภูมิรัฐศาสตร์ การไหลเวียนของทุน พลังงานทางเลือก การพัฒนาทางเลือก เศรษฐกิจหมุนเวียน การเข้าถึงทรัพยากร การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การเคลื่อนไหวทางสังคม วัฒนธรรมชุมชน การก่อการร้าย ความหลากหลายทางเพศ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และประเด็นการพัฒนาอื่น ๆ
พช.813 สัมมนาการวิจัยขั้นสูงเพื่อออกแบบนโยบายและบริหารงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ศึกษาและสร้างความรู้ทางการพัฒนาชุมชนและการบริหารงานพัฒนาชุมชน การวิจัยเพื่อออกแบบนโยบายการพัฒนา นำเสนอประเด็นปัญหาและข้อท้าทายในการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของชุมชนในโลกที่เปลี่ยนผัน ทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณและการประยุกต์ใช้สถิติขั้นสูงในงานวิจัย และงานวิจัยเชิงคุณภาพบนแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนา โดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัยทางสังคมศาสตร์
พช.821 การประเมินความคุ้มค่าเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม
การประเมินความคุ้มค่าจากโครงการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อสังคม ด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่า รวมทั้งทำความเข้าใจกระบวนการประเมินผล การวิเคราะห์และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการและนโยบาย รวมถึงการวิพากษ์และการเสนอแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับโครงการและนโยบายต่างๆ ที่มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมในทุกด้านของการพัฒนาชุมชน
พช.822 การศึกษาค้นคว้าอิสระด้านการพัฒนาชุมชน
การประยุกต์แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย การค้นคว้าความรู้เฉพาะทางการพัฒนาชุมชน มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ การสัมมนาแลกเปลี่ยน การวิพากษ์ การเขียนเอกสารวิชาการ การพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาชุมชนภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
พช.900 วิทยานิพนธ์
ออกแบบโครงการวิจัยและปฏิบัติการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ข้อค้นพบใหม่ การพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชน การพัฒนารูปแบบการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาชุมชนที่ซับซ้อนในโลกปัจจุบัน โดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัยและจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ดังนี้ 1) การออกแบบการวิจัย 2) การนำเสนอโครงร่างการวิจัย 3) การปฏิบัติการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน 4) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการวิจัย และการพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชน 5) การเรียบเรียงและเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ และ 6) การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือที่ประชุมวิชาการ
พช.901 วิทยานิพนธ์
ออกแบบโครงการวิจัยและปฏิบัติการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ข้อค้นพบใหม่ การพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชน การพัฒนารูปแบบการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ไขปัญหาชุมชนที่ซับซ้อนในโลกปัจจุบัน โดยยึดหลักจริยธรรมการวิจัยและจริยธรรมในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ดังนี้ 1) การออกแบบการวิจัย 2) การนำเสนอโครงร่างการวิจัย 3) การปฏิบัติการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน 4) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการวิจัย การพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชน 5) การขยายและใช้ประโยชน์ความรู้เพื่อการพัฒนารูปแบบการวิจัยทางการพัฒนาชุมชน 6) การเรียบเรียงและเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ และ 7) การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือที่ประชุมวิชาการ
4.5 ข้อกำหนดการทำวิทยานิพนธ์ และการสอบวัตคุณสมบัติ
การทำวิทยานิพนธ์
(1) นักศึกษาจะจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ได้ โดย แผน 1.1 เมื่อผ่านการสอบวัดคุณสมบัติเพื่อมีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ แผน 2.1 และแผน 2.2 เมื่อศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดและผ่านการสอบวัดคุณสมบัติเพื่อมีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 3.00
(2) นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย
(3) หลังจากจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์แล้วนักศึกษาต้องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อให้คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และกรรมการวิทยานิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 5 ท่าน
(4) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของ สป.อว.
การสอบวัดคุณสมบัติ
(1) นักศึกษามีสิทธิที่จะสอบวัดคุณสมบัติ โดย แผน 1.1 มีสิทธิสอบวัดคุณสมบัติ และเมื่อผ่านการสอบวัดคุณสมบัติมีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ แผน 2.1 และแผน 2.2 เมื่อศึกษาเมื่อจดทะเบียนรายวิชาบังคับครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีค่าระดับระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนน
(2) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จะเปิดสอบวัดคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการสอบแบบข้อเขียน ปีการศึกษาละ 3 ครั้ง โดยคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ
(3) นักศึกษาจะต้องสอบวัดคุณสมบัติให้ได้ระดับ P (ผ่าน) ภายใน 3 ครั้งมิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา
4.6 การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แผน 1
1) บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
2) สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
3) สอบผ่านการสอบภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4) ได้ผลระดับ S ในการสอบวิทยานิพนธ์ปากเปล่าชั้นสุดท้ายโดยต้องได้มติเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง
5) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติหรือวารสารวิชาการระดับชาติที่มีคุณภาพตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคมและเศรษฐกิจ กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา
แผน 2
1) บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
2) สอบผ่านและได้รับหน่วยกิตสะสมรายวิชาครบตามโครงสร้างหลักสูตร
3) ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
4) สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
5) สอบผ่านการสอบภาษาต่างประเทศตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
6) ได้ผลระดับ S ในการสอบวิทยานิพนธ์ปากเปล่าชั้นสุดท้ายโดยต้องได้มติเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง
7) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติหรือวารสารวิชาการระดับชาติที่มีคุณภาพตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคมและเศรษฐกิจ กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา
----------------------------
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
โทร.026132502 หรือ 0865586201 หรือ 0896927416