1) วิชาบังคับ
นบธ.601 | ความหลากหลาย อาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา | |
แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างความหลากหลายในระบบยุติธรรมทางอาญา โดยมุ่งเน้นในมิติของความหลากหลายต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ สัญชาติ เพศสภาพ อายุ สถานะทางเศรษฐกิจ มีผลต่อผลลัพธ์ในระบบยุติธรรมทางอาญา อาทิ อคติและการเลือกปฏิบัติ การเข้าถึงความยุติธรรม การฟ้องร้องคดี การตกเป็นเหยื่อ และแนวทางในการเยียวยาเหยื่ออาชญากรรม
นบธ.602 | อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยาขั้นสูง | |
แนวคิดและทฤษฎีขั้นสูงของอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา วิเคราะห์พลวัตของพฤติกรรมอาชญากรรม การป้องกันอาชญากรรม และการลงโทษและการบำบัดในระบบยุติธรรมทางอาญา และนโยบายการควบคุมอาชญากรรม ปัญหาร่วมสมัยเกี่ยวกับการลงโทษ การฟื้นฟู และการกลับคืนสู่สังคมของผู้กระทำผิด
นบธ.603 | การวิจัยทางด้านนโยบายและการบริหารงานยุติธรรม | |
แนวคิด หลักการ กระบวนการวิจัย และระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อการศึกษานโยบายและการบริหารงานยุติธรรม และเพื่อการส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนางานวิจัยด้านงานยุติธรรมของประเทศไทย
นบธ.604 | ความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน | |
แนวคิด ทฤษฎี และทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชน อาทิ อาชญากรรมกับความยุติธรรม อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา นโยบายสังคม สวัสดิการสังคมและระบบการคุ้มครองทางสังคม การประกันสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล
นบธ.605 | นโยบายและการบริหารงานยุติธรรมขั้นสูง | |
นโยบาย และการปฏิบัติด้านการบริหารงานที่มีผลต่อระบบยุติธรรมในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ รวมถึงประเด็นร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับงานยุติธรรม การจัดทำนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และโครงสร้างการบริหารงานที่ควบคุมการบังคับใช้กฎหมาย ศาล และราชทัณฑ์
นบธ.606 | สัมมนาและการศึกษาดูงานด้านกระบวนการยุติธรรม | |
สัมมนาปัญหาอาชญากรรม ระบบการบริหารงานยุติธรรม และองค์กรที่เกี่ยวข้องในระบบงานยุติธรรม ทั้งภายในประเทศและระดับสากล รวมทั้งการศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานยุติธรรมในต่างประเทศ
2) วิชาเลือก
นบธ.611 | การป้องกันอาชญากรรมและการจัดการความปลอดภัย | |
ทฤษฎี นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมและการจัดการความปลอดภัย โดยเน้นกลยุทธ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอาชญากรรมและเพิ่มความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น การป้องกันก่อนการกระทำผิดครั้งแรก และการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การป้องกันอาชญากรรมเชิงสถานการณ์ การประเมินความเสี่ยง เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย การวิเคราะห์อาชญากรรม รวมถึงบทบาทของหน่วยงานรักษาความปลอดภัยเอกชน การบังคับใช้กฎหมาย และแนวทางป้องกันอาชญากรรมโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ทั้งการป้องกันอาชญากรรมที่ดำเนินการอยู่ในสถาบัน เช่น เรือนจำ ทัณฑสถาน และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และที่ดำเนินการอยู่ในชุมชน
จิตวิทยากับการเกิดอาชญากรรม กระบวนทัศน์การวิเคราะห์อาชญากรรม ในมุมมองจิตวิทยาวิวัฒนาการ มุมมองโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม มุมมองด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และมุมมองจิตวิทยาระดับบุคคล ปัจจัยเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อความเสี่ยงและการป้องกันอาชญากรรม จิตวิทยาและการให้การปรึกษาสำหรับการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมที่เกี่ยวข้อง
นบธ.613 | การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด | |
แนวคิด ปรัชญา หลักการพื้นฐาน และความเป็นมาของการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ประกอบด้วยการลงโทษ และการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด วิเคราะห์การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม
นบธ.614 | อาชญากรรมในโลกสมัยใหม่ | |
การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของอาชญากรรมในโลกสมัยใหม่ เช่น องค์กรอาชญากรรม อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ อาชญากรรมไซเบอร์ การก่อการร้าย การค้ามนุษย์ อาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อรูปแบบอาชญากรรม ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบอาชญากรรมในปัจจุบัน
นบธ.615 | กระบวนการยุติธรรมทางเลือกทางอาญา | |
ความหมาย แนวคิด ปรัชญากระบวนการยุติธรรมทางเลือก มาตรการควบคุมทางสังคมการ จัดการความขัดแย้งในสังคม กระบวนการยุติธรรมทางเลือกร่วมสมัย การเกิดขึ้นของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก เช่น ยุติธรรมชุมชน ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และการเบี่ยงเบนผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม
นบธ.616 | กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน | |
แนวคิด ทฤษฎีการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน สาเหตุ การป้องกัน การควบคุม และการแก้ปัญหาความผิดของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ระบบกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน วิธีการแก้ไขการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน วิธีการเบี่ยงเบนเด็กและเยาวชนจากการกระทำผิด รวมถึงมาตรการทางกฎหมาย โปรแกรมการฟื้นฟู และกลยุทธ์การป้องกันเพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำ
นบธ.617 | สัมมนางานสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาขั้นสูง | |
บทบาท หน้าที่ กฎหมาย หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม และการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดและเหยื่ออาชญากรรมทั้งเด็กและผู้ใหญ่
นบธ.800 | วิทยานิพนธ์ | 12 หน่วยกิต |
การพัฒนางานวิจัยหรืองานการศึกษาเชิงลึกอันก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในด้านงานยุติธรรม โดยเป็นการดำเนินการวิจัยหรือการศึกษาอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวกับประเด็นนโยบายและการบริหารงาน ยุติธรรมโดยจะต้องดำเนินการเผยแพร่งานวิทยานิพนธ์ หรือรายงานการวิจัยด้วยหลักจริยธรรมในการศึกษา และการเผยแพร่งานวิชาการ
นบธ.700 | สารนิพนธ์ | 6 หน่วยกิต |
การพัฒนางานค้นคว้าเฉพาะเรื่องในด้านงานยุติธรรมโดยเป็นการดำเนินการวิจัยหรือการศึกษา อย่างเป็นระบบที่เกี่ยวกับประเด็นนโยบายและการบริหารงานยุติธรรมโดยจะต้องดำเนินการเผยแพร่ งานสารนิพนธ์ หรือรายงานการวิจัยด้วยหลักจริยธรรมในการศึกษาและการเผยแพร่งานวิชาการ
ข้อกำหนดการทำวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ และการสอบประมวลความรู้
1) การทำวิทยานิพนธ์
(1) นักศึกษาจะจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์ได้ เมื่อศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด คือนักศึกษา ศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษา หรือมีหน่วยกิตสะสมในวิชาบังคับไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
(2) นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์เป็นภาษาไทย
(3) หลังจากจดทะเบียนทำวิทยานิพนธ์แล้ว นักศึกษาต้องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อ คณะกรรมการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารงานยุติธรรม เพื่อให้คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และกรรมการวิทยานิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ซึ่งจะให้คำแนะนำนักศึกษา รวมทั้งสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์
(4) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของ สป.อว.
2) การสอบวิทยานิพนธ์
(1) อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของ สป.อว.
(2) การสอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และการสอบวิทยานิพนธ์ที่จะได้ผลระดับ S ต้องได้มติเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
3) สารนิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาปริญญาโทแผน 2 วิชาชีพ)
(1) นักศึกษาจะจดทะเบียนทำสารนิพนธ์ได้ เมื่อศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดคือ นักศึกษา ศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษา หรือมีหน่วยกิตสะสมในวิชาบังคับไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
(2) นักศึกษาต้องทำสารนิพนธ์เป็นภาษาไทย
(3) หลังจากจดทะเบียนทำสารนิพนธ์แล้ว นักศึกษาต้องเสนอเค้าโครงสารนิพนธ์ต่อ คณะกรรมการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการบริหารงานยุติธรรม เพื่อให้คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์และกรรมการสารนิพนธ์ รวมไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ซึ่งจะให้คำแนะนำนักศึกษา รวมทั้งสอบเค้าโครงสารนิพนธ์ และสอบสารนิพนธ์
(4) อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และกรรมการสอบสารนิพนธ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของ สป.อว.
4) การสอบประมวลความรู้ (สำหรับนักศึกษาปริญญาโทแผน 2 วิชาชีพ)
(1) การสอบประมวลความรู้เป็นการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่า
(2) นักศึกษามีสิทธิที่จะสอบประมวลความรู้ เมื่อจดทะเบียนรายวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต ครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด และได้รับโอกาสให้สอบในภาคการศึกษาแรกที่มีโอกาสจะสำเร็จการศึกษา โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
(3) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จะเปิดสอบประมวลความรู้ ซึ่งเป็นการสอบแบบข้อเขียน ปีการศึกษาละ 3 ครั้ง โดยคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบประมวลความรู้
ครั้งที่ 1 เดือนพฤษภาคม
ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม
ครั้งที่ 3 เดือนธันวาคม
(4) นักศึกษาจะต้องสอบประมวลความรู้ให้ได้ระดับ P (ผ่าน) ภายใน 3 ครั้ง มิฉะนั้นจะถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา