Loading...

ชื่อหลักสูตร

     ภาษาไทย         :       หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชานโยบายสังคม
     ภาษาอังกฤษ    :
      Doctor of Philosophy Program in Social Policy

ชื่อปริญญา

     ภาษาไทย
          ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  (นโยบายสังคม)
         ชื่อย่อ   : ปร.ด. (นโยบายสังคม)
    ภาษาอังกฤษ
         ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy  (Social Policy)
        ชื่อย่อ   : Ph.D. (Social Policy)

ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

   ออกแบบ พัฒนา  นโยบายสังคม ที่นำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมทางสังคม โดยให้ความสำคัญต่อการผสมผสานองค์ความรู้เชิงสหวิทยาการ
          หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขานโยบายสังคม)  เป็นหลักสูตรใหม่ที่เกิดจากการทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนระดับดุษฎีบัณฑิตที่ผ่านมา รวมถึงการประเมินกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สถานการณ์ของสังคมไทย ซึ่งต้องการองค์ความรู้ด้านนโยบายสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพและเป็นธรรม บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในปรัชญานโยบายสังคม สังคมสงเคราะห์ ทฤษฎีสังคม และ กระบวนการวิจัยในระดับสูง
         ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะ ดังนี้
        1) มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และจริยธรรม พร้อมที่จะชี้นำสังคม สามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านนโยบายสังคม                      ทฤษฎีสังคม และ กระบวนการวิจัยในระดับสูง ในออกแบบ พัฒนา นโยบายสังคม การพัฒนาการเรียนการสอนและ                  การวิจัยค้นคว้าในระดับสูง
        2) มีความรู้ความสามารถ สร้างสังคมที่มีคุณภาพและเป็นธรรม ป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม
        3) พัฒนายกระดับการศึกษาด้านนโยบายสังคม ซึ่งมีองค์ประกอบของสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สวัสดิการสังคม                            การคุ้มครองทางสังคมและความเป็นธรรมทางสังคม 

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

     จำนวน 51  หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

    รูปแบบ :   หลักสูตรระดับปริญญาเอก  ศึกษา 3 ปี
     ภาษาที่ใช้ :   การจัดการเรียนการสอนใช้ภาษาไทยเป็นหลัก  มีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ในกรณีมีผู้เชี่ยวชาญ                             จากต่างประเทศมาบรรยายหรือแลกเปลี่ยนทางวิชาการ สำหรับเอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นตำรา                                    ภาษาไทยและต่างประเทศ โดย ภาษาต่างประเทศเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก
    การรับเข้าศึกษา :   รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยได้ดี
    ความร่วมมือกับสถาบันอื่น :   เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันโดยเฉพาะ
    การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา :   ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในปีการศึกษา  2560

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

 - อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
 - นักวิชาการ / นักวิจัย / นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
 - นักพัฒนาสังคม / พัฒนาการ / พัฒนาชุมชน
 - นักบริหาร / เจ้าหน้าที่บริหาร
 - เจ้าหน้าที่บุคคล / เจ้าหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์